การเหยียดเชื้อชาติในการปฏิบัติหน้าที่ถือเป็นปัญหาระดับโลก และการควบคุมยาเสพติดคือสื่อนำ

Black Lives Matter Protest หรือ การประท้วงเรียกร้องสิทธิเพื่อคนผิวดำ, ลอนดอน วันที่ 30 มิถุนายน 2020
 แหล่ง: Katie Crampton

ท่ามกลางความไม่พอใจทั่วโลกเกี่ยวกับประเด็นการเหยียดสีผิว รายงานจากเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพระบุว่าสาเหตุการตายของ จอร์จ ฟลอยด์ เป็นเหตุจากโรคประจำตัวของเจ้าตัวที่มีอยู่ก่อนหน้า รวมด้วยสารทำให้เกิดอาการมึนเมาในร่างกายผู้ตาย นอกจากนั้นรายงานได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการเสียชีวิตของคุณฟลอยด์ว่าเป็นเหตุของการใช้ยาเสพติด ไม่ใช่การถูกเข่ากดดันลงบริเวณด้านหลังคอระหว่างการจับกุมตัวที่รัฐมินนีแอโพลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่อย่างใด

ในช่วงเวลาหลังได้มีหลักฐานแสดงถึงการเชื่อมโยงของสงครามยาเสพติดใรประเทศกับการเพ่งเล็งคนผิวสีดำและน้ำตาลในสังคมชาวอเมริกัน ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมที่เกิดจากการเหยียดเชื้อชาติและสีผิว นับสิบปีแล้วที่นักการเมืองในประเทศใช้การนิยามภาพพจน์ชาวชนกลุ่มน้อยเพื่อเชื่อมโบงชาวผิวสีกับคดียาเสพติดทำให้เกิดการจับกุมและลงโทษอย่างผิดศีลธรรมมาต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งถูกแสดงผ่านจำนวนนักโทษคดียาเสพติดในเรือนจำกลางของสหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนแทบจะครึ่งประชากรเป็นคนผิวสีดำและอีกประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์เป็นชาวลาติน ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงนักโทษในเรือนจำประจำรัฐหรือเรือนจำท้องถิ่นในประเทศที่มีนักโทษที่ถูกจับกุมแบบไม่ชอบธรรมอีกจำนวนมาก

สงครามยาเสพติดในยุคปัจจุบันถูกนิยามได้ว่ากำลังวางรากฐานใหม่ในสหรัฐฯสำหรับการจับกุมและจำคุกประชาชนด้วยการประเมินคดีแบบผิดศีลธรรม ตามที่ TalkingDrugs ได้กล่าวไว้ในรายงานที่ผ่านมานั้น มุมมองและการกระทำเชิงต่อต้านชาวผิวสี รวมถึงการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจเชิงผิดศีลธรรมได้กลายเป็นปัญหาระดับโลก ส่งผลให้ผู้ยากไร้ได้รับผลกระทบมากสุด ซึ่งถูกแสดงผ่านการบรรจุกฎหมายยาเสพติดในประเทศทั่วโลก

ดั่งที่ศาสตราจารย์โคโจ โครัม ได้ระบุในผลงานของเขาที่เกี่ยวกับการล่าอาณานิคมและประเด็นสงครามยาเสพติดซึ่งกล่าวไว้ว่า “แผนในการยับยั้งและปราบปรามยาเสพติดในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดได้สร้างการส่งเสริมการแบ่งแยกทางเชื้อชาติและสีผิวทั้งในและระหว่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง”

 

โทษประหารสำหรับนักโทษคดียาเสพติด

 

ในประเทศที่ยังคงยึดมั่นในระบบโทษประหารสำหรับผู้ละเมิกคดียาเสพติด การแบ่งแยกหรือการเหยียดเชื้อชาติและสีผิวจะแตกต่างออกไป

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือหลักฐานที่บ่งชี้วัดถึงการใช้มุมมองเหยียดเชื้อชาติและสีผิวเข้าแทรกแทรงระหว่างขั้นตอนการพิจารณาคดียาเสพติดสำหรับนักโทษประหารชีวิตในชั้นศาลของประเทศอินโดนีเซีย ในปี 2016 นายฮัมฟรีย์ เจฟเฟอร์สัน ซึ่งเป็นชาวไนจีเรียและนักโทษประหารชีวิต ในคำตัดสินของเขาได้มีการระบุถึงหมายเหตุของการจับกุมนักโทษคดียาเสพติดของประเทศที่เพ่งเล็งชาวผิวสีที่เดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย

สำหรับประเทศแถบทวีปเอเชียนั้น มีความเข้าใจดีว่านักโทษประหารชาวต่างชาติมีโอกาสที่จะอุทธรณ์คดีตนเองสำเร็จน้อยลงไปกว่าครึ่ง ตัวอย่างเช่นประเทศซาอุดิ อาระเบีย ที่มีชาวต่างชาติเกินกว่าครึ่งของจำนวนนักโทษประหารทั้งหมดในปี 2018 โดยส่วนมากเป็นชาวปากีสกานและไนจีเรีย มากไปกว่านั้นประเทศมาเลเซียยังมีนักโทษรอการประหารอยู่ประมาณ 1200 คน โดยส่วนมากเป็นนักโทษคดียาเสพติดและอีกประมาณครึ่งเป็นชาวต่างชาติเช่นกัน

 

ประชากรนักโทษ

 

ในจำนวนประชากรนักโทษในประเทศบราซิลนั้น มีมากกว่า 64 เปอร์เซ็นต์ ที่เป็นชาวผิวสี และบราซิลยังมีจำนวนประชากรนักโทษในเรือนจำมากเป็นอันดับที่สามของโลกอีกด้วย มากไปกว่านั้น การค้ายาเสพติดนับเป็นสาเหตุการจำคุกของนักโทษอีกด้วย วิจัยจากเมืองเซา เปาโล ในปี 2017 ระบุว่าคนผิวสีมีความเป็นไได้สูงกว่าที่จะถูกสั่งจำคุกด้วยคดีค้ายาเสพติดถึงแม้จะมีปริมาณยาเสพติดในครอบครองน้อยกว่าจำเลยที่เป็นชาวผิวขาวก็ตาม ผู้ส่งเสริมความคิดนี้จากบราซิลยังต่างอธิบายเพิ่มเติมว่ามีอัตราการสั่งจำคุกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บวกกับบทพูดเชิงสื่อถึงเชื้อชาติที่มีการเชื่อมโยงผู้เยาว์กับยาเสพติดและความรุนแรงที่กล่าวว่า “การกระทำของรัฐบาลบราซิลที่เมื่อถูกส่งเสริมด้วยมุมมองด้านการสงคราม ย่อมทำให้เกิดการสนับสนุนและให้ความสำคัญแก่การละเมิดสิทธิเชิงเชื้อชาติ เพศ วัย หรือชนชั้นในสังคมอยู่เสมอ”

 

การจับกุมคดียาเสพติด

 

การวิจัยระบุว่าการค้นตัวหายาเสพติดในสหราชอาณาจักรมีความเพ่งเล็งถึงชาวผิวสีมากกว่าถึงเจ็ดเท่าเมื่อเทียบกับคนผิวขาว และพบว่าเพียงแค่ 4.7 เปอร์เซ็นต์ของคนผิวสีที่ถูกค้นตัวมียาเสพติดในครอบครองจริงแต่เมื่อเทียบกับ 9 เปอร์เซ็นต์ของคนผิวขาว

ชาวผิวสีในประเทศแอฟริกาใต้เป็นตัวอย่างของประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามของยาเสพติดเช่นกัน โดยถูกแสดงผ่านความเป็นไปได้ที่คนผิวสีจะถูกจับกุมด้วยข้อสงสัยว่ามียาเสพติดในครอบครองมากกว่าผู้คนเชื้อชาติหรือสีผิวอื่นๆถึง 2.5 เท่า ความไม่เท่าเทียมดังกล่าวได้ส่งผลขยายไปถึงการเข้าตรวจค้นโรงเรียนเพื่อหายาเสพติด แต่ส่วนมากเพ่งเล็งแค่โรงเรียนยากจน มากไปกว่านั้นแล้ว ชาวบ้านได้ระบุเพิ่มเติมว่าไม่มีการส่งเสริมการตรวจค้นเชิงเหยียดหรือลำเอียงในชุมชนของคนผิวสี แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในย่านชานเมืองของประเทศแอฟริกาใต้ที่มีชาวชนชั้นกลางพักอาศัยอยู่

สงครามของยาเสพติดได้วาดภาพที่แสนเจ็บปวดถึงความคิดและการกระทำเชิงเหยียดสีผิวและเชื้อชาติในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทั่วโลก เพื่อยืนหยัดเคียงข้างผู้ประท้วงเรียกร้องสิทธิเพื่อต่อต้านความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจและความคิดชาตินิยมผิวขาว เราส่งเสริมการเข้าใจระบบการทำงานของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานยุคปัจจุบันเพื่อที่จะต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ของมนุษย์ทุกคนบนบรรทัดฐานของการหมั่นติดตามสถานการณ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับเหตุผลของการเกิดขึ้นของความไม่ยุติธรรมต่างๆ

 

นาโอมี เบิร์ค-ชายน์ ผู้อำนวยการบริหาร Harm Reduction International 
คอลลีน แดเนียลส์ ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุข กรุงเมลเบิร์น, ออสเตรเลีย