สงครามต่อต้านยาเสพติดเกิดจากการเหยียดเชื้อชาติและสีผิว ถึงเวลาล้มเลิกระบบอาณานิคม

วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีถือเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก ซึ่งนับเป็นวันสำคัญที่ประเทศทั่วโลกตต่างถือเป็นโอกาสในการส่งเสริมเป้าหมายของการสร้างพื้นฐาน “สังคมระหว่างประเทศที่ปลอดการใช้สารเสพติด” และการกระทำดังกล่าวได้ทิ้งร่องรอยความเสียหายมากกว่าที่หลายคนคิดไว้ โดยยืดเยื้อมาเกินกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ในขณะเดียวกันยังมีกฎหมายของดราโก ซึ่งเป็นกฎหมายเก่าแก่นั้นได้ส่งผลระยะยาวถึงปัจจุบันโดยทำให้ผู้ยากไร้ ผู้หญิง คนพื้นเมือง คนที่ถูกเอาเปรียบด้วยสถานะทางสัญชาติ เพศ ความเชื่อทางศาสนาและชนชาติได้รับผลกระทบอย่างหนักหนาในสังคม

ความไม่เท่าเทียมทางเชื้อชาติที่เกิดขึ้นในการตัดสินโทษคดียาเสพติดเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ และกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นทั่วโลก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านผู้คนที่มาจากแอฟริกาจากสหประชาชาติได้กล่าวว่า “สงครามของยาเสพติดได้กลายเป็นระบบการต่อต้านเชื้อชาติและศาสนาทที่ดียิ่งกว่าเป้าหมายแรกของการริเริ่มให้เป็นวิธีการรับมือกับการใช้และขนส่งยาเสพติดเสียอีก” โดยสามารถเห็นได้จากการจับกุมที่เกิดขึ้นทั่วโลกที่มีเหตุจากคดียาเสพติด แต่แฝงไปด้วยความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำเกินหน้าที่ ส่งผลให้ชาวผิวสีทั่วโลกมีความหวั่นกลัวต่อเจ้าหน้าที่ของประเทศตนเอง การกดขี่ดั่งกล่าวถูกอ้างว่าทำขึ้นเพื่อการต่อต้านการใช้และค้าขายยาเสพติด แต่ยังมีรายงานจากสหประชาชาติที่ระบุถึงการเติบโตของตลาดการค้ายาเสพติดในรายงานยาเสพของโลกที่ถูกปล่อยออกมาปีแล้วปีเล่า โดยในเวลานี้ได้มีการยืนยันอีกครั้งถึงการกระทำทั้งหมดดังกล่าว

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ชาวผิวสีถูกเพ่งเล็งและจับกุมมากกว่าชาวผิวขาวด้วยอัตราที่มากกว่าห้าเท่าตัว และมากกว่าครึ่งถูกจำคุกด้วยคดียาเสพติด สำหรับชาวอังกฤษนั้ ชาวผิสีมีความเป็นไปได้ที่จะถูกจับกุมมากว่าแปดเท่าตัวหลังจากถูกค้นตัวเมื่อเปรียบเทียบกับสถิติเดียวกันของชาวผิวขาว ในขณะที่เมืองรีโอเดจาเนโรของประเทศบราซิลกำลังเผชิญปัญหาของการที่ประชาชนเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ที่ถูกฆ่าคือชาวผิวสี ปัญหาของนโยบายเชิงต่อต้านเชื้อชาติและสีผิวได้ส่งผลต่อคนพื้นเมืองในแต่ละท้องถิ่นทั่วโลกโดยได้รับความสนใจน้อยมาก ตัวอย่างที่ชัดเจนเกิดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลียเมื่อคนพื้นเมืองของประเทศมีความเป็นไปได้ว่าจะถูกดำเนินคดี 15 ถึง 20 เท่าตัวของผู้ที่ไม่ใช่คนพื้นเมือง และอีกตัวอย่างคือประเทศแคนาดาที่ถึงแม้ว่าจะดำเนินรอยตามอุรุกวัยในการปรับเปลี่ยนตลาดการค้าขายกัญชาให้เป็นตลาดการค้าที่ถูกกฎหมาย แต่กฎหมายอาญาของประเทศก็ยังเล่นงานชาวผิวสีและคนพื้นเมืองของประเทศคล้ายกับที่สหรัฐฯกำลังเผชิญ

ในเวลาปัจจุบัน กฎหมายเกี่ยวกับยาระงับประสาทได้ถูกนำมาใช้จู่โจมโดยรัฐบาลไปสู่ชุมชนคนผิวสี โดยแย้งไม่ได้ว่าในสังคมและระบบการควบคุมยาจากสหประชาชาติของโลกปัจจุบันยังมีร่องรอยที่ถูกไว้จากช่วงล่าอาณานิคม แสดงถึงความคิดเชิงเหยียดที่มาจากยุคเก่า และในช่วงก่อนยุคสมัยล่าอาณานิคมในแอฟริกา และเอเชียมีการเก็บเกี่ยว ค้าขาย และใช้งานพืชกัญชาในด้านการแพทย์ โดยพืชดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในศาสนาราสตาฟาเรียน ซูฟี และฮินดู แล้วยังถูกพูดถึงในตำราการแพทย์ของอาวีเซนนาด้วยเช่นกัน ตำราดังกล่าวถูกใช้ในทางการแพทย์ยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 18 ใบโคคาก็เป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่ถูกนับถือในศาสนาแถบอันเดียนของป่าแอมาซอนด้วยเช่นกัน

พืชโคคาได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในยุคล่าอาณานิคมโดยถูกมองว่าเป็นพืชที่มีสรรพคุณและเป็นพืชการค้าที่สำคัญด้วย ประเทศฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และชาวดัทช์ทำการค้าโดยมีพืชต่างๆเป็นส่วนสำคัญ อาทิเช่น ฝิ่น โคคา และพืชกัญชา โดยทั้งหมดจะถูกค้าขายกับประเทศอินเดีย เมียนมาร์ อินโดนีเซีย โมร็อกโก และอัลจีเรีย ที่น่าสนใจคือสหราชอาณาจักรชนะสงครามฝิ่นในปี 1840-42 ส่งผลให้เกิดการค้าฝิ่นอย่างเสรีด้วยรูปแบบที่ไม่ถูกรบกวนระหว่างชาวอังกฤษ-อินเดียและจีน ในยุคก่อนหน้านั้นชาวอังกฤษได้ต่อสู้เพื่อปกป้องการค้าฝิ่นเนื่องจากได้รับผลกำไรที่ดี

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการค้าขายและใช้ฝิ่นได้ถูกส่งเสริมเป็นอย่างมากจากรัฐบาลสหรัฐฯเพราะประเทศได้รับผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจในการทำให้อำนาจด้านการเมืองและเศรษฐกิจยุโรปในทวีปเอเชียย่ำแย่ลง ซึ่งสุดท้ายแล้วได้ช่วยวางรากฐานให้ระบบการปราบปรามยาเสพติดทั่วโลก การเหยียดเชื้อชาติและสีผิวมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการระงับสารเสพติดต่างๆเช่นฝิ่นหรือกัญชา ซึ่งหากมองอย่างลึกซึ้งจะเข้าใจได้ว่าในสังคมมีการเชื่อมโยงการใช้ยาเสพติดต่างๆกับคนผิวสี อาทิเช่น การเชื่อมโยงการใช้ฝิ่นกับกัญชากับชาวจีน เม็กซิกัน และแอฟริกัน รวมถึงการเชื่อมโยงการใช้โคเคนกับชาวผิวสีอีกเช่นกัน ซึ่งถูกรัฐบาลสหรัฐฯตีแผ่ว่าเป็นตัวช่วยการล่อลวงหญิงชาวผิวสีขาว หรือทำให้เกิดอาการใช้ความรุนแรงจากผู้ใช้ยาดังกล่าว

ในขณะนั้น หลังจากยุคล่าอณานิคมได้จบลงก็ได้พบเห็นว่าประเทศที่รับอิสรภาพขาดกำลังที่จะต่อต้านอำนาจการต่อต้านยาเสพติดที่แผ่ขยายมาจากสหรัฐฯ มาตราการดังกล่าวส่งผลให้ธรรมเนียมต่างๆของชาวชนพื้นเมืองของประเทศเหล่านี้ถูกทำลายลง ภายหลังจากนั้นได้เกิดเหตุการณ์ที่ประเทศทั่วโลกถูกบังคับโดยสนธิสัญญาต่างๆของสหประชาชาติให้ยกเลิกมาตราการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับยาและพืชต่างๆที่เคยเป็นส่วนสำคัญของชุมชนในเชิงศาสนาและการแพทย์

จากเหตุการณ์ทั้งหมดดังกล่าว จึงสามารถสร้างความเข้าใจได้ว่าการเหยียดชนชาติและสีผิวบนบรรทัดฐานเดิมๆที่ถูกตั้งไว้ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมยังคงมีผลต่อโลกปัจจุบัน โดยแฝงอยู่ในบทสนทนาและการใช้ชีวิตของคนในทุกวันนี้เป็นอย่างมาก มากไปกว่านั้นยังมีหลักฐานแสดงถึงการประชุมระดับนานาชาติบนหัวข้อมาตราการควบคุมยาเสพติดในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 สิ่งที่น่าสนใจคือการประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้ชายและชาวผิวสีขาวเป็นส่วนใหญ่ โดยพวกเขาตัดสินใจประกาศห้ามค้าขายและใช้พืชที่คนผิวสีนิยมใช้ในทางการแพทย์และนับถือในเชิงศาสนาโดยสิ้นเชิง ในขณะที่พวกเขาดื่มด่ำกับการสูบซิการ์และดื่มเหล้าบรั่นดีราคาแพง แสดงถึงความลำเอียงในมาตราการระดับข้ามประเทศที่เอื้อแก่ประเทศยุโรปซึ่งขึ้นชื่อด้านการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยังบ่งชี้ถึงความไม่เป็นธรรมที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในมาตราการและกำหนดการต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการควบคุมยาเสพติดอีกเช่นกัน

หลังจากการยับยั้งนี้เกิดขึ้น ชุมชนและพื้นที่ที่เคยใช้ยาหรือสารทั้งหมดนี้ได้ถูกตราหน้าให้เกิดการถูกแบ่งแยกจากชุมชนอื่นๆในประเทศตนเอง ส่งผลให้เข้าใจว่าการยับยั้งและควบคุมการใช้ยาเสพติดด้วยการปราบปรามด้วยความรุนแรงเป็นสิ่งปกติ โดยถูกแสดงถึงจากจอห์น เออร์ลิชแมน, ผู้ช่วยด้านความสัมพันธ์ภายในประเทศในสมัยประธานาธิบดีนิกสันช่วงปี 1994:

ยุคสมัยของประธานาธิบดีนิกสันในปี 1968 และยุคต่อมามีศัตรูสองอย่าง ซึ่งก็คือผู้ต่อต้านการทำสงครามและชาวผิวสี เราทราบดีว่าไม่สามารถทำให้สองสิ่งนี้เป็นสิ่งผิดกฎหมายได้ แต่ชาวฮิปปีส์กับกัญชา และโยงชาวผิวสีกับการใช้สารโคเคนนั้นสามารถสร้างผลกระทบต่อรากฐานของกลุ่มคนเหล่านี้ได้ ซึ่งจะนำไปสู้การจับกุมผู้นำของกลุ่มคนเหล้านี้ให้คนในประเทศสามารถรับชมในข่าวช่วงเย็นได้ ดังนั้นเราย่อมรู้ดีว่าในเวลานั้นเรากำลังพูดโกหกเมื่อพูดถึงเรื่องยาเสพติด”

ภายหลังกลยุทธ์ดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ทั่วโลกในการทำร้ายและปราบปรามกลุ่มศาสนาและกลุ่มต่อต้านทางการเมืองกลุ่มต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษที่ผ่านมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญในด้านมาตราการการควบคุมพืชกัญชาโดยถูกแสดงผ่านประเทศอุรุกวัย แคนาดา และหลายมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาที่อนุญาตให้ทำการค้ากัญชาเสรีได้แล้ว ในขณะเดียวกัน ประเทศในแถบเอเชียแลแอฟริกาได้ริเริ่มการปลดล็อคกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน ในยุคปัจจุบัน แรงจูงใจในการเข้าร่วมตลาดการค้าพืชกัญจาเกินห้ามใจสำหรับหลายประเทศ โดยถูกประเมิณว่าจะมีมูลค่าราว 166 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2025 อย่างไรก็ตามตลาดการค้าดังกล่าวได้ละเว้นกลุ่มคนที่เคยเผชิญความรุนแรงจากการปราบปรามในอดีตเนื่องจากตลาดการค้าได้ถูกผูกมัดกับฝั่งซีกโลกเหนือของโลก โดยประเทศในซีกโลกใต้ถูกตัดออกโดยสิ้นเชิง มากไปกว่านั้นบริษัทที่สามารถขายพืชกัญชาได้เสรีในสหรัฐฯมีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นบริษัทของชาวผิวสี และประเทศแคนาดา ถึงแม้ว่ากำลังเริ่มเข้าตลาดดังกล่าวเช่นกัน แต่ยังไม่สามารถยกเลิกโทษคดียาเสพติดทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับพืชกัญชาได้

ถึงแม้ว่าการยกเลิกกลยุทธ์วิธีการปราบปรามยาเสพติดแบบดั้งเดิมจะยังไม่สามารถถูกล้มเลิกได้ แต่ถ้าหากปล่อยไว้ แนวคิดที่ถูกปลูกฝังไว้ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมอาจยังคงมีผลต่อไปเรื่อยๆในสังคมปัจจุบัน หากจะเริ่มกระบวนการการถอนรากความคิดดังกล่าว ต้องย้อนกลับไปจุดตั้วต้นของการปราบปรามนักโทษคดียาเสพติดด้วยความรุนแรงที่เกิดขึ้นในอดีต โดยเฉพาะกับชาวสีผิว โดยรัฐบาลทั่วโลกต้องล้มเลิกระบบการจำคุกผู้เลือกใช้ยาเสพติดชนิดดังกล่าวข้างต้นที่ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ได้ หรือมีความสำคัญทางศาสนาโดยไม่ส่งผลร้ายต่อผู้เลือกใช้

วันต่อต้านยาเสพติดโลกซึ่งตรงกับวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปียังเป็นวันสำคัญสำหรับโครงการ “Support. Don’t Punish Campaign” อีกเช่นกัน โดยโครงการดังกล่าวมีความสำคัฐเนื่องจากเป็นแนวคิดที่ริเริ่มจากผู้คนรากหญ้าที่ต้องส่งเสริมความคิดการล้มเลิกนโยบายยาเสพติดที่มีการลงโทษรุนแรง และเลือกที่จะช่วยเยียวยาผู้ใช้ยาผ่านการพยาบาลแทน วันดังกล่าวข้างต้นถือเป็นวันที่กลุ่มคนพื้นเมืองใน 175 เมืองจาก 84 ประเทศทั่วโลกรวมเสียงเป็นเสียงเดียวกันเพื่อส่งเสริมการยกเลิกสงครามยาเสพติดโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เกิดการล้มเลิกการปราบปรามนักโทษบนบรรทัดฐานการเหยียดเชื้อชาติและสีผิวโดยสิ้นเชิง

 

* แอนน ฟอร์ดแฮม ผู้อำนวยการบริหาร International Drug Policy Consortium