“ขาดทั้งยาและครอบครัว แถมยังมีแต่ความเครียด” เรื่องราวของเรือนจำ ยาเสพติดและโควิด 19

การระบาดของโรคโควิด 19 ได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างด้วยการกระทบชีวิตผู้คนและการค้าขายข้ามประเทศ โดยมีการค้ายาเสพติดรวมอยู่ด้วย เพื่อให้เกิดการขายและขนส่งยาที่ทั้งถูกและผิดกฎหมายนั้นอาศัยการตรวจค้นที่เขตชายแดนที่ถูกลดความเข้มงวดลง และด้วยเหตุการณ์ปัจจุบันนั้น โควิด 19 ได้ส่งผลให้หลากหลายปัจจัยเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง อาทิเช่น ราคา ปริมาณ และการเข้าถึงยาเสพติด หรือแม้กระทั่งสุขภาพของนักโทษในเรือนจำก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน

รายงานจากศูนย์ติดตามตรวจสอบปัญหายาเสพติดและการติดยาเสพติดแห่งยุโรป (EMCDDA) และ Europol ได้ตรวจสอบเจอว่าการแพร่ระบาดของโควิด 19 ได้สร้างผลกระทบต่อตลาดการค้าขายยาเสพติด โดยก่อให้เกิดการขาดตลาดและปรับราคาให้สูงขึ้น รายงานได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการที่ยาเสพติดเช่นกัญชาและเฮโรอีนเริ่มขาดตลาดและมีราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิมมากอีกด้วย มากไปกว่านั้น รายงานเพิ่มเติมเกี่ยวเหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกเปิดเผยจากประเทศฮังการีและมอลตา โดยระบุว่าในพื้นที่ท้องถิ่นนั้นไม่สามารถเข้าถึงยาเสพติดเช่นกัญชา หรือยาจำพวกเมทแอมเฟตามีนได้เลย

เช่นเดียวกัน ประเทศเม็กซิโกและจีนได้พบเจอการขาดตลาดเช่นกัน ถ้าหากมองในเชิงลึกแล้ว จะเข้าใจได้ว่าการค้าขายยาเสพติดในเรือนจำก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน และคาดว่ากำลังส่งผลร้ายแรงต่อผู้ที่ใช้ยาเสพติดในเรือนจำเช่นกัน

 

โอกาสการติดเชื้ออย่างแพร่กระจาย

 

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมากรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสภายุโรปได้ยกประเด็นเกี่ยวกับการดูแลนักโทษในเรือนจำในช่วงสถานการณ์การแพร่ของโรคระบาดโควิด 19 โดยได้ระบุถึงนักโทษว่าเป็นจำนวนประชากรที่ “มีโอกาสติดเชื้ออย่างแพร่กระจายมากที่สุด” และ “การแพร่กระจายของโรคดังกล่าวสร้างความกังวลต่อการอาศัยอยู่อย่างแออัดของนักโทษในการดูแลด้านสาธารณสุขที่ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ และมีอัตราการเกิดโรคอื่นๆอาทิเช่น วัณโรค โรคเบาหวาน หรือแม้กระทั่งโรคติดเชื้อเอชไอวี” ดังนั้น มากกว่าห้าสิบประเทศได้เริ่มใช้ระบบการปล่อยตัวนักโทษเพื่อสร้างความตระหนักปัญหาดังกล่าว

อีกด้านของระบบการกักขังนักโทษที่ได้รับผลกระทบช่วงปัจจุบันคือด้านการเยี่ยมนักโทษ โดยมีความเสี่ยงเนื่องจากนอกจากปัจจัยของสถานที่ที่คับแคบแล้วยังมีความน่ากังวลถึงการแพร่โรคที่อาจเกิดขึ้นจากผู้ที่เข้าเยี่ยมนักโทษอีกด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าว หลายประเทศได้ยกเลิกการเข้าเยี่ยมนักโทษชั่วคราว ตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ เคนยา อินโดนีเซีย ไทย เบลีซ เม็กซิโก และกายอานา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการประกาศใช้นโยบายดังกล่าวจะเป็นวิธีการรับมือที่มีเหตุผลและแก้ปัญหาได้ตรงจุดก็ตาม ปัญหานี้นับเป็นประเด็นที่จำเป็นต้องอาศัยการใช้กระบวนการใช้ความคิดไตร่ตรองเป็นอย่างมากเนื่องจากอาจส่งผลต่อด้านสุขภาพและสิทธิมนุษยชนได้ถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะอยู่กับเราอีกสักระยะหนึ่งก็ตาม

 

การแยกตัวอย่างเข้มงวดและปัญหาความเครียดที่ตามมา

 

การคงความสัมพันธ์กับสมาชิกครอบครัวนั้นนับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของนักโทษเป็นอย่างมาก เรือนจำทุกที่สร้างสภาพแวดล้อมการต้องแยกตัวกันอยู่โดยมีหลายที่ที่อนุญาตให้ใช้เวลานอกห้องเรือนจำนักโทษและเจอหน้ากับสมาชิกครอบครัวได้เพียงน้อยนิดในช่วงก่อนเกิดการระบาดของโรค หลังจากมีข้อจำกัดที่เกิดขึ้นภายหลังนั้น การเข้าเยี่ยมนักโทษได้หายไปและถูกทดแทนไปด้วยการต้องกักตัวและแยกตัวกันอยู่จากสังคมใดๆก็ตาม เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเครียดและปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่นๆอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม หลายประเทศได้เน้นย้ำถึงผลกระทบต่อสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นจากการกักตัวในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน โดยผลกระทบดังกล่าวสามารถทวีคูณความรุนแรงขึ้นสำหรับนักโทษในเรือนจำที่ขาดการติดต่อกับครอบครัวไปโดยสิ้นเชิงเนื่องจากนักโทษนอกจากจะใช้การเจอสมาชิกครอบครัวในเชิงเป็นที่พึ่งทางอารมณ์แล้ว การเข้าเยี่ยมนั้นหมายความว่าอาจได้รับอาหาร  อุปกรณ์อาบน้ำ เสื้อผ้า และสิ่งของจำเป็นอีกมากที่ไม่สามารถได้รับในการอาศัยในเรือนจำ ในหลายประเทศเช่น บราซิล อิตาลี อียิปต์ อินโดนีเซีย และจอร์แดน ได้มีการประท้วงรุนแรงจากนักโทษเกิดขึ้นเพื่อต่อต้านการยกเลิกระบบการเข้าเยี่ยมนักโทษในเรือนจำ

 

เศรษฐกิจใต้ดิน

 

ตั้งแต่มีการยกเลิกนโยบายเข้าเยี่ยมนักโทษ ระบบเศรษฐกิจใต้ดินก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยมีการประมาณการว่าหนึ่งในห้าคนที่ถูกสั่งจำคุกทั่วโลกนั้นมาจากคดียาเสพติด ส่งผลให้เกิดความคิดว่าสงครามของยาเสพติดถือเป็นชนวนของทั้งการสั่งจำคุกและการแพร่กระจายของโรคโควิด 19 ที่เพิ่มขึ้นในสถานกักกันทั่วโลก ในแง่เดียวกัน รายงานระบุว่าการเข้าเยี่ยมนักโทษถือเป็นวิธีการขนย้ายยาเสพติดเข้าและออกโรงจำทั่วโลก เมื่อมีการสั่งยกเลิกนโยบายนี้แล้ว ตลาดการค้ายาเสพติดในระบบสถานกักกันทั่วโลกก็ได้ถูกระงับไปด้วยเช่นกัน

 

วงจรร้าย

 

ด้วยการถูกตัดจากโลกภายนอกและขาดการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น นักโทษหลายรายจึงหันไปพึ่งยาเสพติดเพื่อระงับความเบื่อหน่ายระวังการถูกจำคุก ยิ่งในเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีการสั่งกักตัวและยกเลิกการเข้าเยี่ยมนักโทษ วงจารอุบาทว์จึงเกิดขึ้นในสถานกักกันต่างๆและสร้างความเบื่อหน่ายและตึงเครียดเพิ่มขึ้น และสิ่งที่แย่กว่าคือเดิมทีเคยถูกช่วยระงับไว้ด้วยการใช้ยาเสพติดช่วยเหลือให้ผ่านพ้นเวลาเลวร้ายดังกล่าวไปได้เร็วขึ้น เพื่อขยายความและวิเคราะห์เหตุการณ์ดังกล่าว สำนักหนังสือพิมพ์จากประเทศออสเตรเลียได้อธิบายว่าท่ามกลางวิกฤติกาลโควิดนี้ ได้มีสถานการณ์ “ขาดทั้งยาและครอบครัว แถมยังมีแต่ความเครียด” ขึ้นมา

ตัวอย่างที่น่าสนใจมาจาก เรือนจำแม็กกาเบอร์รี่ ในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้ประกาศยกเลิกการเข้าเยี่ยมนักโทษและส่งผลให้เกิดการล้มล้างระบบการค้ายาเสพติดในเรือจำไปโดยสิ้นเชิง เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาของการที่นักโทษขาดยาเสพติดเช่น “สไปซ์” ซึ่งเป็นสารที่สังเคราะห์มาจากพืชกัญชา มากกว่านั้น ในประเทศออสเตรเลียเกิดการขึ้นราคายาเสพติดหลังการประเทศนโยบายต่างๆดังกล่าวข้างต้น ก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น อีกตัวอย่างที่บ่งบอกถึงผลเชิงลบที่เกิดขึ้นมาจากการคาดการณ์ว่าเรือนจำในสหราชอาณาจักรจะเผชิญหน้ากับความรุนแรงและอัตราการขาดยาที่กำลังจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุปทานยาเสพติดที่หายไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน

ในมุมมองหลายคนคงมองว่าผลที่เกิดขึ้นจากการหายไปของยาเสพติดในระบบเรือนจำทั่วโลกนั้นเป็นเรื่องที่ดีต่อการหายไปของสงครามของยาเสพติด แต่ทว่าหลายคนคงมองข้ามความเป็นไปได้ที่การขาดหายกระทันหันดังกล่าวสามารถส่งผลรุนแรงต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของนักโทษและผู้ที่เลือกใช้ยาเสพติดเช่นกัน และอาจส่งผลร้ายแรงต่อระบบเรือนจำทั่วโลกเช่นกันในยุควิกฤติกาลโควิด 19 


 

* Ellie Harding is a final year student in Criminology at Swansea University. Dr Rick Lines is Associate Professor of Criminology and Human Rights, School of Law, Swansea University.